จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)




Knowledges ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
คือภาษีตัวหนึ่ง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต (VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7 เราซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อมาผลิตเป็นสินค้าราคา 100 บาท ก็จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 7 บาท (เรียกว่า "ภาษีซื้อ) เมื่อผลิตเป็นสินค้าเสร็จแล้วเราก็ขายไปในราคา 300 บาท ตอนขายไปเราก็จะต้องคิดหรือบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 21 บาท (เรียกว่า "ภาษีขาย") ซึ่งค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บมานี้ จะต้องนำส่งหลวงหรือสรรพากร และเป็นเงินของผู้ซื้อสินค้าของเรา เราไม่ใช่คนจ่ายภาษี และเราผู้ขายมีหน้าที่ต้องนำส่งหลวงหรือไปจ่ายให้กับกรมสรรพากร แต่ก่อนนำไปจ่าย ถ้าเรามีภาษีซื้อ (ดังตัวอย่าง ภาษีซื้อ คือ 7 บาท) เราก็นำมาหักลบก่อนได้ ดังนี้ เราก็นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 21-7 = 14 บาท เป็นต้น (ซึ่ง เงิน 14 บาท ก็คือเงินที่เก็บมาจากการขายสินค้า(ของลูกค้าเรา) นั้นเอง)
สรุป ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บจากลูกค้า ที่เราขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงคือลูกค้าเรานั่นเอง
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด
                         การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7 % ภาษีมูลค่าเพิ่มบางกิจการได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เนื่องจากถ้าให้เจ้าของกิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง กิจการค้าพืชผลทางการเกษตร แต่บางครั้งเจ้าของกิจการไม่ทราบว่าต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะดูก้ำกึ่ง ก็ควรสอบถามกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งก็จะได้รับคำปรึกษาทางนี้ได้ บางกิจการที่ดูก้ำกึ่งเช่น กิจการจำหน่ายสุนัข และขายอุปกรณ์ในการดูแลสุนัข ต้องดูว่ารายได้หลักคืออะไร ถ้าหากขายอุปกรณ์เป็นรายได้หลัก ก็จะเข้าเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการขายอาหาร ก็ไม่ใช่เป็นการขายพืชผลทางการเกษตร แต่เป็นการขายสินค้า ซึ่งก็คืออาหาร ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
                         หลักเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือ นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1
,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากมีความประสงค์จะขอเข้าจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนก็ได้ (หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จะจดหรือไม่ก็ได้) แต่ถ้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นจะต้องถูกประเมินภาษี ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าได้

ดังนั้นจะพิจารณาว่า จะจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มดีหรือไม่
ให้พิจารณาจาก
1. ต้องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือไม่ หรือลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีจากเรา ดังนั้นเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น) ถึงแม้ว่าเรารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้าน/ปีก็ตาม
2.มีรายได้ถึง 1
,800,000 บาทต่อปีหรือไม่ ถ้าถึง ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.พิจารณาว่า กิจการเรา ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เช่น กิจการขนส่ง เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บุคคลธรรมดา ที่รับงานส่วนตัว และให้บริษัทหรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ ถ้าหากรายได้เกิน 1
,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ต้องระวังเพราะถูกภาษีย้อนหลังกันเยอะ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า บุคคลธรรมดาต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
หลักฐานและเอกสารในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้
นิติบุคคล(บริษัท
,ห้าง)
1..สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ ไม่เกิน 1 เดือนและใบสำคัญการจดทะเบียน เซ็นรับรองประทับตรา
2..สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง
3.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)และบัญชีผู้หุ้น (บอจ.5)
4.สำเนารายงานการประชุมหรือข้อบังคับ(กรณีเป็นบริษัท)
5.สำเนาสัญญาเช่า(กรณีเช่า) ผู้ให้เช่าต้องทำสัญญาเช่าในนามนิติบุคคล และต้องติดอากรให้เรียบร้อย
หรือหนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านหรือเจ้าของ(ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน)ของสถาน ที่ตั้งประกอบการ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น สัญญาซื้อขาย
,โฉนดที่ดิน
6. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
7.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมหรือผู้ให้เช่าแล้วแต่กรณี
ถ้าเช่า ต้องเช่าในนามนิติบุคคล(บริษัท
,ห้าง)และติดอากรให้เรียบร้อย(1000ละ1บาท/เดือน/ปี)
8.แผนที่ตั้งและภาพถ่ายแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงาน
9.-หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
10.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.01) (ผู้จดทะเบียนเตรียมให้)
อนึ่ง

สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  
·        ในเขตกรุงเทพมหานคร
-ให้ยื่นที่ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง
 
-ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร
 
·        จังหวัดอื่น
-ให้ยื่นจดทะเบียนที่ตั้งสรรพากรอำเภอหรือให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
-ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร
 

***ในการจดทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะอนุมัติการจดทะเบียน ล่าช้าไปประมาณ 15 วัน***





การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่

·         เอกสารประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
·         ใช้หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการเป็นหลักฐานการจดทะเบียนแทนสัญญาเช่าได้
·         สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
·         สถานประกอบการไม่ใช่ที่อยู่ของผู้ประกอบการ
·         ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้า
·         เอกสารประกอบคำร้องขอคัดแบบ ภ.พ.01

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางอินเตอร์เน็ต
·         จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต แต่มีความประสงค์จะขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทันที
·         จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต คลิกเลือกจังหวัดไม่ได้
·         จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต ไม่มีข้อความใด ๆ
·         ติดตามผลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต
·         การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณียื่นคำขอจดทะเบียนฯ ทางอินเทอร์เน็ต
·         จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต
·         บริษัทตั้งใหม่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะทางอินเทอร์เน็ตได้

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

      1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
            แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง
      2.   เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
          (1)   คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
          (2)   สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
          (3)   บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
          (4)   สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้านสัญญาซื้อขายคำขอหมายเลขบ้านใบโอนกรรมสิทธิ์สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          (5)   หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)
          (6)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
          (7)   บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          (8)   แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด
          (9)   กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดัง กล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

าม-ตอบ ทุกปัญหาด้านจดทะเบียนธุรกิจ / ขอใบอนุญาตทำงาน / ต่อวีซ่า 

สนทนาสดผ่านทาง    LINE    และ FACEBOOK CKA  ได้แล้ววันนี้

ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร การupdate ส่วนลดบริการด้านต่างๆ

พร้อมโปรโมชั่นอื่นๆอีกมากมาย
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น